4 สายการบินจะบินได้สูงแค่ไหน ถ้าต้องเจอราคาน้ำมันกับภาษีที่เพิ่มขึ้น
หลังจากวันที่ 27 มกราคม 2017 ที่ผ่านมาหลังจากที่คลังได้มีการประกาศเก็บภาษีน้ำมันเพิ่ม ก็ทำให้ราคาหุ้นของสายการบินต่างๆ เริ่มปรับตัวลงตามๆ กัน โดยมีท้ังหมด 4 สายการบิน
AAV (-0.98%) - บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน)
BA (0.00%) - บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
NOK (-1.54%) - บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน)
THAI (-0.75%) - บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
ในบทความนี้เราเลยจะมาเจาะดูงบการเงินของแต่ละสายการบินย้อนหลังดูว่าการที่คลังได้มีการปรับเพิ่มการเรียกเก็บภาษีน้ำมันเป็น 4 บาทต่อลิตร จาก 0.2 บาทต่อลิตร ที่จะส่งผลเฉพาะสายการบินในประเทศเท่านั้น เพื่อเป็นการสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขันในเรื่องของค่าโดยสารของการเดินทางประเภทอื่นๆ เพราะภาษีน้ำมันดีเซลและเบนซินนั้นปกติเก็บอยู่ที่ลิตรละ 5-6 บาท
กำไรสุทธิของ 4 สายการบินไตรมาสที่ 3 ปี 2016
AAV กำไรอยู่ที่ 3.32 พันล้านบาท, BA กำไร 2.14 พันล้านบาท, NOK ขาดทุน -2.4 พันล้านบาท และ THAI กำไร 1.5 พันล้านบาท
โดยกำไรสุทธิโดยประมาณของกลุ่มการบินจะอยู่ที่ 7,000 ล้านบาทต่อปี ณ ข้อมูล 3Q2016
หากเราประมาณการว่าโดยปกติในไตรมาสที่ 4 จะเป็นช่วง High Season ดังนั้นมีความเป็นได้สูงว่าในปี 2016 กำไรของสายการบินอาจจะอยู่ในระดับ 8 พันล้านบาทต่อปี
อัตรากำไรสุทธิของสายการบิน
เห็นได้ว่าอัตรากำไรสุทธิของสายการบินต่างๆ หลังจากที่มีการแข่งขันที่สูงขึ้นการจะรักษาอัตรากำไรสุทธิให้คงที่ยังมีความยากอยู่ในตัวไม่ว่าจะเป็นสายการบิน Low Costs หรือ Full Service ก็ยากที่ทำและรักษากำไรให้คงที่อยู่ในระดับ 10%
ต่อมาข้อมูลบอกว่าการจัดเก็บภาษีน้ำมันเครื่องบิน และ ภาษีน้ำมันหล่อลื่น จะทำให้คลังรับรายได้ 8 พันล้านบาทต่อปี แยกออกเป็นแบบนี้
ภาษีน้ำมันเครื่องบิน
ก่อนเพิ่ม จ่ายภาษีต่อลิตรที่ 20 สตางค์ต่อลิตร
หลังเพิ่ม 23% หรือ ตามปริมาณ 3 บาทต่อลิตร โดยปัจจุบันราคาน้ำมันเครื่องบินอยู่ที่ 14 บาทต่อลิตร 14 บาท ดังนั้นเมื่อคำนวณออกมาจะอยู่ประมาณ 4 บาทต่อลิตร
สรุป ปัจจุบันมีการใช้น้ำมันเครื่องบินโดยประมาณ 1,000 ล้านลิตรต่อปีดังนั้นจะเป็นรายได้เขาคลังโดยประมาณ 4,000 ล้านบาทต่อปี
ภาษีน้ำมันหล่อเลื่อน
ก่อนเพิ่ม ไม่เคยเก็บภาษีน้ำมันหล่อลื่น
หลังเพิ่ม เก็บภาษีที่อัตรา 5 บาทต่อลิตร
สรุป โดยปัจจุบันประเทศไทยมียอดขายอยู่ที่ 800 ล้านลิตรต่อปี
สิ่งที่นักลงทุนต้องจับตามอง
การที่มีการเพิ่มอัตราเรียกเก็บภาษีของน้ำมันทั้งสองประเภทนั้นถือว่ามีผลกระทบโดยตรงกับกลุ่มการบิน และ กลุ่มท่องเที่ยวโดยต้องคิดต่อจากประเด็นต่อไปนี้
ในเรื่องของสายการบินที่มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมา ผู้ที่จะมาแบกภาระในการจ่ายค่าใช้จ่ายตรงนี้จะเป็นใคร จะเป็นสายการบิน หรือ จะเป็นผู้โดยสาร ซึ่งคำตอบก็จะนำพามาสู่โจทย์ใหม่ว่าผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นจะมากแค่ไหน เมื่อคนไทยที่เคยซื้อตั๋วเครื่องบินราคาถูกต้องชำระตั๋วในราคาที่แพงขึ้น จะกระทบต่อการท่องเที่ยวหรือไม่ยังไง
ตอนนี้ก็คงยังเร็วไปกับการที่จะบอกว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อกับหุ้นสายการบิน เพราะยังคงต้องรอดูนโยบายของแต่ละสายการบิน และ กลยุทธในการบริหารค่าใช้จ่าย และ การตั้งราคา ถึงจะสามารถวิเคราะห์ต่อไปได้
ประเด็นที่ควรจะต้องคิดต่อ
นอกจากปัจจัยของภาษีน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมาแล้วนั้น นักลงทุนอาจจะยังต้องคำนึงถึงราคาน้ำมันที่ลดลงในปีที่ผ่านมาจนหุ้นสายการบินทะยานไปตามๆ กันแต่วันนี้ราคาน้ำมันก็ทะยานขึ้นมาแล้ว แล้วหุ้นสายการบินละเป็นอย่างไร
แสดงความคิดเห็น
กรุณา เข้าสู่ระบบ ก่อนแแสดงความคิดเห็น